วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

PA704 ชุดสิ่งแวดล้อม ชุดที่ 1 ส่วนที่ 6



ส่วนที่ 6  ชุดที่ 1  ชุดสิ่งแวดล้อม

1.    นโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) คือ แถลงการณ์ขององค์กรถึงความตั้งใจ มุ่งมั่น และหลักการในการทำงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรวม เพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีของสังคม นโยบายจึงเป็นกรอบสำหรับการดำเนินการขององค์กร และเพื่อการจัดตั้งวัตถุประสงค์ และเป้าหมายสิ่งแวดล้อม
2.   นโยบาย เป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกในการปฏิบัติ และปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร เพื่อให้สามารถรักษาและปรับปรุงผลงานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมาย และระบุถึงความตั้งใจมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูง ในอันที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และปรับปรุงระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เพื่อประโยชน์ทางการค้า การดำเนินการ และอื่นๆ
3.    นโยบายต้องชัดเจน และ ง่ายต่อการอธิบาย ต่อคนงานในองค์กร และผู้สนใจทั่วไ พร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้ทันต่อเหตุการณ์ และข้อมูลอยู่เสมอ นโยบายนี้ยังควรสอดคล้องกับนโยบายด้านอื่นๆ ขององค์กร เช่น นโยบายด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ฯลฯ นโยบายควรสะท้อนถึงสภาวะ และข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไป นโยบายจะนำไปใช้กับส่วนงานใดบ้างก็ควรจะชี้บ่งให้ชัดเจนลงไป ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรควรกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม และจัดทำเป็นเอกสาร ในกรณีที่องค์กรนี้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่ นโยบายควรอยู่ในกรอบของนโยบายขององค์กรใหญ่ โดยที่องค์กรใหญ่นั้นยอมรับด้วย ซึ่งผู้บริหารอาจเป็นบุคคลคนเดียว หรือ เป็นคณะกรรมการก็ได้ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานโดยรวมขององค์กรนั้นๆ
4.    อะไรคือ วัตถุประสงค์ของนโยบาย ?
5. นโยบายสิ่งแวดล้อม จะต้องเผยแพร่ให้กับบุคลากรภายในองค์กรได้ทราบ โดยการกำหนดลักษณะ การดำเนินงานที่สำคัญ ที่แสดงถึงจุดมุ่งหมายขององค์กร นโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดทิศทาง และแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดและเผยแพร่นโยบายสิ่งแวดล้อม โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะ ประเภท ขนาดของธุรกิจ และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขององค์กร นโยบายสิ่งแวดล้อมต้องมีความเฉพาะเจาะจง ชัดเจน และเป็นที่เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งภายในองค์กร ตลอดถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจะต้องมีการทบทวน และปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นระยะๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
6.    จัดทำนโยบาย อย่างไรดี ?
7.  ในการจัดทำนโยบายนั้น จะต้องมีการดำเนินการโดยผู้บริหารสูงสุดเป็นหลัก หรือเป็นผู้ชี้แนวทางในการจัดทำนโยบายที่ถูกต้อง และผู้ดำเนินการจะต้องเป็นผู้จัดทำนโยบายและ นำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดเพื่อให้ตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น ผู้ร่วมถือหุ้น ผู้ร่วมลงทุน ชุมชนรอบข้างหรือเพื่อนบ้าน ผู้รับประกัน คู่แข่งทางธุรกิจ องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ผู้กำหนดกฎหมาย ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ความคิดเห็นของชุมชน พนักงานในองค์กร ผู้บริโภค เป็นต้น กลุ่มบุคคลเหล่านี้คือ บุคคลที่จะรับทราบถึงนโยบายขององค์กร ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าแต่ละกลุ่มก็ต้องการรับข้อมูลหรือผลประโยชน์ทางด้านนโยบายสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันไป
8.    อะไรคือ การดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ?
9.  การแสดงถึงการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างความสัมพันธ์อันดี รวมไปถึงภาพพจน์ที่ดีต่อสังคมและชุมชน จะเห็นได้ว่าความแตกต่างของกลุ่มบุคคลย่อมมีจุดประสงค์ในการรับข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันไป และไม่ใช่ว่าองค์กรใดที่ไม่มีนโยบายสิ่งแวดล้อมจะไม่มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในองค์กร ในบางองค์กรจะรวมเอาเรื่องของสิ่งแวดล้อมอยู่ในการดำเนินงานขององค์กรด้วยแล้ว ซึ่งโดยมากจะรวมถึงด้านสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม แรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นมาตรการในการดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งถ้าจะให้มีความเฉพาะเจาะจงก็ต้องมีการกำหนดนโยบายเฉพาะขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือนโยบายด้านสังคมก็ตาม ขั้นตอนในการจัดทำนโยบายดังต่อไปนี้
         
การกำหนดนโยบาย
1)   การเผยแพร่นโยบาย
2)   การทบทวน และ ปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อม
10. เราควรกำหนด นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างไร ?
11. ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือ ให้ทิศทางแล้วมอบหมายให้คณะจัดทำฯ ร่างนโยบายและนำมาเสนอให้พิจารณานโยบายสิ่งแวดล้อม เนื้อหาที่จะต้องนำมาบรรจุลงใน นโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เนื่องจากแต่ละองค์กรมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน มีปรัชญาในการดำเนินงานแตกต่างกัน ซึ่งองค์กรจะต้องคาดหวังว่า นโยบายจะต้องปฏิบัติได้ มีความเฉพาะเจาะจง และจะต้องเป็นที่ประทับใจของลูกค้า หรือผู้พบเห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุมชน หรือคู่แข่งทางธุรกิจ นโยบายสิ่งแวดล้อมควรมีพื้นฐานมาจากการทบทวนสถานะเบื้องต้นทางด้านสิ่งแวดล้อม นโยบายจะไม่มีความหมายเลยถ้าไม่มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานที่จะปรับปรุงและพัฒนาสิ่งแวดล้อม นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องครอบคลุมประเด็น ดังต่อไปนี้
1)   เหมาะสมกับลักษณะ ขนาด และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากกิจกรรม สินค้า หรือ บริหารขององค์การ
2)   แสดงความมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และป้องกันมลภาวะด้วยการใช้กระบวนการ กรรมวิธี วัสดุหรือผลิตภัณฑ์ที่หลีกเลี่ยง ลดหรือควบคุมมลพิษ ซึ่งอาจรวมถึงการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ การใช้ประโยชน์จากของเสีย การบำบัด การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต กรรมวิธีควบคุม การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการใช้วัสดุทดแทน
3)   แสดงถึงความมุ่งมั่นต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับ รวมถึงข้อกำหนดต่างๆ ที่องค์กรเป็นสมาชิกอยู่
4)   เป็นแนวทางที่ใช้ในการกำหนด และทบทวน วัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
5)   มีการบันทึกไว้ นำไปปฏิบัติ และการรักษา เพี่อสื่อสารต่อพนักงานทุกคน เช่น รวมไว้ในคู่มือพนักงาน หรือแยกส่วนไว้ต่างหาก
6)   เปิดเผยต่อสาธารณะชน เช่น ปิดประกาศไว้ในห้องโถง และมีแจกถ้ามีผู้ขอดู
          นโยบายสิ่งแวดล้อมต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร มีการลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงสุด รวมทั้งลงวันที่ เดือน ปี ที่มีผลบังคับใชัด้วย
12. นโยบายสิ่งแวดล้อมควรเป็นแนวทาง หรือหลักการสั้นๆ และกว้าง ที่พิมพ์เผยแพร่ นอกจากนี้ยังมีแนวทางของกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละกลุ่มซึ่งรวมไปถึงแนวทางการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น มาตรการของกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมอีเลคโทรนิค เป็นต้น มาตรการของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้ ก็สามารถนำมากำหนดเป็นนโยบายขององค์กรได้ เช่น การประหยัดพลังงาน การประหยัดน้ำ การป้องกันการเกิดมลพิษ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง หรือการลดปริมาณของเสียอันตราย เป็นต้น นโยบายจึงเป็นส่วนสำคัญในการใช้สำหรับการจัดทำวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ส่วนรายละเอียดและเป้าหมายนั้น จะเขียนไว้ในวัตถุประสงค์และเป้าหมายในขึ้นตอนของการวางแผน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายอีกทีหนึ่ง ในกรณีที่มีหน่วยงานในองค์กรใหญ่ ซึ่งมีนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว นโยบายของหน่วยงานควรสอดคล้อง กับนโยบายขององค์กรใหญ่โดยอาจมีข้อจำกัดเฉพาะลงไปอีกได้
13.เอกสาร นโยบายสิ่งแวดล้อมในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นเอกสารระดับแรก ๆ ในระบบฯ ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมุ่นขององค์กรปัจจุบันหลายๆ องค์กร มักมีการจัดทำวิสัยทัศน์ ขององค์กรมากกว่า นโยบาย ซึ่งในวิสัยทัศน์ จะรวมถึงแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์ทางด้านสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย โดยมากเอกสารนโยบายสิ่งแวดล้อมจะถูกระบุไว้ในคู่มือสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเอกสารระดับสูงสุดขององค์กร อย่างไรก็ตามการเผยแพร่นโยบายซึ่งโดยมากองค์กรติดประกาศนโยบายไว้ตามที่ต่างๆ ในองค์กรด้วยซึ่งเอกสารนโยบายสิ่งแวดล้อมนั้นก็ต้องควบคุม (ตามแนวทางการควบคุมเอกสาร) ตามจุดที่นำไปติดด้วย
14.เราจะเผยแพร่ นโยบายสิ่งแวดล้อม อย่างไร ?
15.การเผยแพร่ ภายในองค์กร ต้องทำความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานทุกคน ทุกระดับ รวมทั้งผู้รับเหมาที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ขององค์กร ด้วยแล้ว ให้นำนโยบายไปปฏิบัติอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องท่องให้ขึ้นใจแบบนกแก้วนกขุนทอง แต่ทำอย่างไรให้พนักงานทุกคนเข้าใจ และรู้จักวิธีการดำเนินงานที่ถูกต้องตามนโยบายดังกล่าว คือจะต้องทราบว่ากิจกรรมที่ตนเองทำนั้นส่งผลกระทบอะไรต่อสิ่งแวดล้อมบ้าง และมีแนวทางในการดำเนินการเพื่อควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นอย่างไร ฉะนั้น จึงต้องมีการฝึกอบรมความตระหนักทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่มิใช่ให้พนักงานสามารถท่องจำได้
16. การเผยแพร่ ภายนอกองค์กร
นโยบายสิ่งแวดล้อม สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนทั่วไป หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน หรือ หน่วยงานต่างประเทศ ที่เป็นทั้งลูกค้า โดยเฉพาะผู้ที่ส่งวัตถุดิบ หรือผู้ส่งมอบ ผู้ที่ต้องการทราบ การเผยแพร่อาจทำเป็นเอกสาร ข่าวสาร หรือหนังสือพิมพ์ และการเผยแพร่ต่อชุมชนโดยรอบ อาจจัดทำป้ายขนาดใหญ่ หรือ การส่งเอกสารเพื่อเผยแพร่อื่นๆ ก็ได้ การเผยแพร่สู่ภายนอกนั้น ก็เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เช่น ลูกค้า ผู้ส่งมอบสินค้า ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ผู้ที่ได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากองค์กร ภายนอกองค์กรไม่ใช่ทุกคนตามที่หลายท่านเข้าใจ
17. วิธีการทบทวน และ ปรับปรุง นโยบายสิ่งแวดล้อม ?
18. เนื่องจากสภาพการณ์ต่างๆ ทั้งภายใน และ ภายนอกองค์กร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้บริหารสูงสุดต้องมีการทบทวนและปรับปรุงนโยบายสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยอาจกำหนดระยะเวลาในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามความเหมาะสม หรือถ้า นโยบายที่กำหนดไว้ยังคงมีความทันสมัย เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม นโยบายสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ก็ยังสามารถใช้ได้ก็ให้คงไว้ได้ ในการทบทวนและปรับปรุงนโยบายนั้นจะอาจมาจาก คณะกรรมการดำเนินการ พนักงาน หรือ ผู้บริหารเองก็ได้ ซึ่งต้องมีการสื่อสารนโยบายใหม่ให้กับคณะกรรมการบริหารพิจารณาตามลำดับ จนกระทั่งถึงคณะกรรมการบริหารองค์กร และ ผู้บริหารสูงสุด ซึ่งนโยบายใหม่ทุกคนจะต้องเห็นพ้องกนในการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากนั้นก็ประกาศใช้และดำเนินการเข้าสู่วงจรของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อไป
19.นโยบาย พร้อมทั้งการกระทำที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติตามนโยบาย ควรกระทำอย่างไร ?
1) ความมุ่งมั่นของนโยบายควรคำนึงถึงกิจกรรม ผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนอกเหนือจากการปฏิบัติตามข้อบังคับ และกฎหมายแล้ว ยังอาจแสดงความมุ่งมั่นที่จะทำการต่อไปนี้
 นโยบายสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุดขององค์กร และต้องมั่นใจว่านโยบายจะได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการบริหารในองค์กรด้วย
  ต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านสิ่งแวดล้อม และองค์กร จะต้องปฏิบัติให้ได้ด้วย
ต้องแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเผยแพร่นโยบาย และผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม กับองค์กรภายนอก หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
 ลดผลกระทบอันร้ายแรงโดยการใช้วิธีจัดการสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Integrated Environmental Management) และการวางแผน
   จัดทำขั้นตอนในการวัดผลการปฏิบิตการด้านสิ่งแวดล้อม และตัวดัชนีที่เกี่ยวข้องกับมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อม
   รวมวิธีคิดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Analysis) และพยายามปฏิบัติให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่เพียงแต่จะเป็นการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในการผลิต การใช้และการทิ้งของเสียในกระบวนการผลิต
ป้องกันมลพิษ ลดปริมาณของเสีย และความต้องการทรัพยากร เช่น วัตถุดิบเชื้อเพลิง และพลังงาน มุ่งมั่นที่จะนำกลับมาใช้หมุนเวียนและสกัดของมีค่าแทนการทิ้ง
   การให้การศึกษา และฝึกอบรมแก่ พนักงาน สาธารณชน ลูกค้า ผู้ส่งมอบ ผู้รับจ้างช่วง หรือแม่แต่นักศึกษาฝึกงาน ฯลฯ
   การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสิงแวดล้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น จากการประชุม การแสดความคิดเห็นต่อสาธารณะ
   การเข้าร่วม และติดต่อกับกลุ่มผู้สนใจ แสดงถึงความมุ่งมั่นในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย
   พยายามเข้าสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development)
สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ผู้ขายส่งและผู้รับเหมาขององค์กร โดยการสนับสนุนในด้านการเงิน ด้านเทคนิค หรือด้านบุคลากร ก็ได้
 สร้างมาตรการในการลดการใช้ทรัพยากร หรือใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ไฟฟ้า น้ำ น้ำมัน เป็นต้น
   มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับนโยบาย ด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
 จัดทำรายงานประจำปี ซึ่งต้องแสดงถึงข้อมูล ข่าวสารที่จำเป็นที่แสดงถึงสถานภาพการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรไว้ด้วย
20. สิ่งสำคัญสำหรับ นโยบายสิ่งแวดล้อม
1)  ข้อตกลงที่องค์กร ได้ทำไว้กับชุมชนโดยรอบ ถือเป็นสิงที่ต้องนำไปปฏิบัติด้วย เนื่องจากถ้ามีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น  ชุมชนโดยรอบจะต้องอ้าง นโยบายที่องค์กรได้แถลงต่อชุมชนก่อนเสอม ฉะนั้นจะต้องดำเนินการตามนโยบายอย่างเคร่งครัดที่สุด
2)  ควรระบุในนโยบายสิ่งแวดล้อม ถึงการเปิดเผยนโยบายฯ ต่อสาธารณชน โนสภาพความเป็นจริงอาจระบุเช่นนั้นก็ได้ แต่บางท่านอาจมีการเปิดเผยต่อสาธารณะชนแล้วก็ไม่ต้องระบุก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ การปฏิบัติเพื่อให้ชุมชนรอบข้างได้ทราบถึงนโยบายขององค์กร
3)  ควรนำผลจากการทบทวนสถานะปัจจุบันของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการกำหนดนโยบายด้วย การทบทวนทำให้ทราบการดำเนินการในปัจจุบัน และปัญหาที่เกิดขึ้นกับองค์กร และสามารถนำปัญหาเหล่านั้นมากำหนดเป็นนโยบายก็ได้
21. โดยสรุปแล้ว นโยบายสิ่งแวดล้อม เป็นเอกสารที่แสดงถึงหน้าตา และมาตรการในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งกำหนดโดยองค์กรเอง นโยบายสิ่งแวดล้อมแสดงถึงข้อมูลข่าวสารทีให้พนักงานในองค์กรและสาธารณชนทราบถึง เป้าหมายขององค์กรในการที่จะควบคุมและปรับปรุงปัญหา สิ่งแวดล้อมขององค์กร ซึ่งมีหลักการในการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมอยู่ 4 ประการคือ
 นโยบายสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ซึ่งสามารถกำหนดได้จากลายเซนต์ของผู้บริหาร และความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามนโยบายที่เกิดขึ้น
   จะต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระยะเวลาที่เหมาะสม
นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการทบทวนให้ทันสมัยอยู่เสมอ และต้องได้รับการตรวจสอบว่ายังมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะถูกดำเนินการโดยการตรวจประเมินระบบฯ ภายใน หรือภายนอก และเป็นการทบทวนระบบฯ หลังจากถูกตรวจประเมินแล้ว


ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมือง มักจะเกิดขึ้นในเมืองใหญ่ ที่เป็นศูนย์กลางของความเจริญรุดหน้าในด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังเช่น กรุงเทพมหานคร ซึ่งประสบกับภาวะความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และประชากรอย่างรวดเร็ว ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา แรงกดดันจากประชากรที่กำลังขยายตัวมีผล ทำให้เขตกรุงเทพฯ ต้องมีการพัฒนาและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีแนวโน้มว่าจะขยายตัวออกภายนอก คือ บริเวณวงแหวนรอบนอก ทั้งนี้เนื่องมาจากความอิ่มตัวของพื้นที่ชั้นใน ซึ่งมีการพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ที่กำลังอยู่ในขั้นวิกฤต รายละเอียดของปัญหาต่างๆ มีดังนี้
º ปัญหาอากาศเสีย และ เสียงเป็นพิษ
  อากาศเสีย ปัญหาอากาศเสียในเขตกรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากควัน และ ไอเสีย ที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับปัญหาการจราจร ที่อยู่ในขั้นวิกฤติ
 เสียเป็นพิษ ปัญหามลพิษทางเสียงที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณที่มีกิจกรรมและประชากรอยู่หนาแน่น เช่น เสียงที่เกิดจากการจราจรที่หนาแน่น เช่นบริเวณสถานีรถไฟฟ้า BTS 5 แห่ง ที่มีเสียงดังเกินมาตรฐาน ได้แก่ สีลม ศาลาแดงด พร้อมพงษ์ สะถานควาย และ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
º ปัญหาคุณภาพน้ำ เสื่อมโทรม
 ปัจจุบันคูคลองสายต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร กลายสภาพเป็นแหล่งรองรับน้ำเสีย ที่ไม่ผ่านการบำบัด หรือบำบัดไม่สมบูรณ์จากชุมชน และโรงงานต่างๆ เนื่องจากสิ่งสกปรกที่ปนในน้ำทิ้งจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม ปศุสัตว์ มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล กันประกอบด้วย อินทรียสาร และอนินทรียสารต่างๆ จำนวนมาก ถูกระบายลงสู่ลำคลองต่างๆ ส่งผลให้คุณภาพ น้ำในคลองเสื่อมโทรมอย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญในการเข้าไปแก้ไข ปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างมาก โดยในระยะสั้นมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อปรับปรุง คุณภาพน้ำของคลองสายต่างๆ โดยการปล่อยน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาให้ไหลเข้า มาเจือจางน้ำเน่าในคลองของกรุงเทพมหานคร ควบคู่กับการผันน้ำคลองมา บำบัดด้วยวิธีธรรมชาติที่บึงมักกะสัน และบำบัดด้วยวิธีเติมอากาศ (Areated Lagood) ที่บึงพระราม 9 ส่วนในระยะยาว ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์กำจัดน้ำเสีย ควบคู่กับการปรับปรุงระบบระบายน้ำโดยในขณะนี้กรุงเทพมหานคร ได้ดำเนินโครงการบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ ได้แก่ โครงการบำบัดน้ำเสียถนน พุทธมณฑลสาย 2 บึงพระราม 9 โดรงพยาบาลศิริราช สี่พระยา เกาะรัตนโกสินทร์ ยานนาวา หนองแขม ภาษีเจริญ และ ราษฎร์บูรณะ ระบบบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 1 และระบบบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่ 2
º ปัญหามูลฝอย และ สิ่งปฏิกูล
 มูลฝอยชุมชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมาณมูลฝอยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้ไม่สามารถเก็บขนได้หมด มีมูลฝอยเหลือตกค้างอยู่ตามบ้านเรือนประชาชนและกระจายอยู่ตามสถานที่ต่างๆ
 สิ่งปฏิกูล  หมายถึง อุจจาระ และ ปัสสาวะ รวมตลอดถึงวัตถุอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งสกปรกโสโครก และมีกลิ่นเหม็น (พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2484) ปัจจุบัน ปัญหาจากสิ่งปฏิกูลในเขตกรุงเทพมหานคร ยังไม่เป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนเท่ากับปัญหามูลฝอย เนื่องจากอาหารบ้านเรือนในชุมชนส่วนใหญ่มีการกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองโดยใช้บ่อเกรอะ บ่อซึม หรือ ระบบบัดบัดที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อเก็บกัก และ ลดความสกปรกของสิ่งปฏิกูลลงบางส่วนก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรีบไปดำเนินการกำจัดต่อไป
º ปัญหามูลฝอย ที่เป็นอันตราย
 ในเขตกรุงเทพมหานคร มูลฝอยที่เป็นอันตรายประเภทต่างๆ อาทิเช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เสื่อมสภาพ เศษกระป๋องย่าฆ่าแมลง ถ่านไฟฉาย หรือ แบตเตอรี่เก่าๆ จากอาคารบ้านเรือน และ ย่านธุรกิจ มูลฝอยติดเชื้อจากสถานพยาบาลและกากสารพิษต่างๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ถูกทิ้งปะปนกับมูลฝอยทั่วไป โดยกรุงเทพมหานครจะทำการเก็บขนและนำไปกำจัด เนื่องจากปริมาณขยะที่กรุงเทพมหานครเก็บขนมีจำนวนมากเกินขีดความสามารถที่จะทำลายโดยวิธีที่เหมาะสม มูลฝอยอันตรายจึงถูกกองในสถานกำจัดและเผากลางแจ้ง (Air burning) เป็นครั้งคราว มีผลให้สารพิษและสารเคมีฟุ้งกระจาย ตลอดจนเกิดการชะล้างโดยน้ำฝนลงสู่แหล่งน้ำ
ปัญหาชุมชนแออัด
 พื้นที่เมืองชั้นใน ซึ่งอยู่ในแนวถนนรัชดาภิเษก หรืออยู่ในแนวรัศมี มีระยะห่างจากใจกลางเมืองประมาณ 0-29 กิโลเมตร ถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และความเจริญในด้านต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร และเป็นเนื้อเมือง (Buildup Area) ของกรุงเทพมหานคร ที่ทำให้พื้นที่ในเขตดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีการจ้างงาน และมีการก่อสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการคมนาคมที่มีโครงข่ายกว้างาขวาง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงกลายเป็นสิ่งดึงดูดให้คนในชนบทเข้ามาหางานทำในเมือง และเกิดการตั้งถิ่นฐานอย่างไม่ถาวรในที่สาธารณะในส่วนต่างๆ ของกรุงเทพฯ ขึ้น เมื่อนานวันเข้าชุมชนเหล่านี้ขยายตัวมากขึ้น บ้านเรือนที่ปลูกสร้างอย่างง่ายๆ มีการเบียดเสียดกันหนาแน่น จนกลายเป็นชุมชนที่เราเรียกว่า “ชุมชนแออัด”

º  ปัญหามลทัศน์ (Visual Pollution)
 มลทัศน์ (Visual Pollution) หรือเรียกว่า มลภาวะทางสายตาหรือทัศนอุจาด เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนเมืองที่เหมือนกับปัญหาน้ำเสีย อากาศเสีย เสียดัง การจราจรคับคั่ง ซึ่งปัญหาดังกล่าว มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยจากการรับรู้ได้โดยการสูดกลิ่น การได้ยิน ในขณะที่การรับรู้ทางด้านมลทัศน์จะรับรู้ได้โดยการมอง (Visual Perception) ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อร่างกาย แต่จะทำให้ภูมิทัศน์เมือง (Urban Landscape) ไม่มีความสวยงาม ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ขององค์ประกอบของเมือง ได้แก่ อาคารและสิ่งปลูกสร้างระบบสาธารณูปโภค ซึ่งบริการและอำนวยความสะดวกต่อชุมชน รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์บนถนน (Street Furniture) ป้ายโฆษณา และ ประชาสัมพันธ์บริเวณอาคารต่างๆ

º  ปัญหาน้ำท่วม
 กรุงเทพมหานคร อยู่ในบริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง ปัญหาน้ำท่วมขังในกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมาหลายครั้งด้วยกันก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างมากมาย จากการที่กรุงเทพมหานครมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการขยายตัวไปตามแนวถนนสายหลัก (Ribbon Development) มีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม เมื่อมีฝนตกเป็นปริมาณมาก ประกอบกับไหลบ่าของน้ำเหนือในฤดูฝน สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้จะไปกีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ และ สาเหตุอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาแผ่นดินทรุด เนื่องจากการสูบน้ำบาดาล ซึ่งเดิมกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ราบต่ำอยู่แล้ว เมื่อเกิดน้ำท่วมขังทำให้น้ำระบายได้ยากกว่าเดิม ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ทั้งปัญหาน้ำท่วมจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงน้ำเลหนุน ซึ่งจะไม่สามารถระบายน้ำออกสู่ทะเลได้
ที่มาสภาวะแวดล้อมของเรา = Our environment : กรุงเทพฯ สำนักพิพม์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549



ปัญหาสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย
           ปัจจุบัน ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีสาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรจำนวนมาก และมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้แทน โดยก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากขึ้น
          ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย มีดังนี้
1.      ปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นตามเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ เป็นต้น
2.      ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนเมืองใหญ่
3.      ปัญหาสารพิษตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สารพิษกำจัดแมลงทางการเกษตร
4.      ปัญหาความเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจืดที่เกิดจากการทำลายป่าเพื่อการเกษตร การขยายตัวของชุมชน และเมืองต่างๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาแหล่งน้ำเสื่อมคุณภาพ
5.      ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ การระบายน้ำเสียลงสู่ทะเล
6.      ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า หรือ บุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
7.      ปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน
8.      ปัญหาคุณภาพ และการกระจายตัวของประชากร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น