วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

นวัตกรรมองค์การ PA709

ประเภท และ รูปแบบ ของนวัตกรรม
      นวัตกรรมแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
(1)      นวัตกรรมค่อยเป็นค่อยไปหรือส่วนเพิ่ม(Incremental Innovation)
        เป็นนวัตกรรมที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหรือสิ่งเดิมที่มีอยู่แล้ว  ซึ่งอาจปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือปรับปรุงเทคโนโลยีหรือสิ่งที่มีอยู่เพื่อจุดมุ่งหมายหรือการใช้งานในรูปแบบอื่น เช่น ชิปประมวลผลคอมพิวเตอร์ของ Intel 
        กับดักของนวัตกรรมส่วนเพิ่ม
1)           หลีกเลี่ยงการเพิ่มเติมสิ่งที่ไม่จำเป็น อาจทำให้ลูกค้าหงุดหงิดกับสิ่งที่ไม่จำเป็น  แพงขึ้น  ใหญ่ขึ้น  ซับซ้อนขึ้น  ใช้งานยากขึ้น  เช่น PlayStation 3 ของ Sony กับ Wii ของ Nintendo
2)           อย่าลงทุนกับนวัตกรรมส่วนเพิ่มทั้งหมด ไม่ทำให้ก้าวไปสู่เทคโนโลยีใหม่ได้จึงทำให้เสียเปรียบการแข่งขัน
(2)  นวัตกรรมลำดับขั้น (Modular Innovation)
            มีความสัมพันธ์โดยตรงกับรูปลักษณ์ของสินค้า/บริการกับการเปลี่ยนแปลง  ระบบการทำงานของสินค้า/บริการเดิมที่มีอยู่  เพื่อจะได้วัสดุชิ้นส่วนใหม่กับรูปลักษณ์ของสินค้า/บริการใหม่  การเปลี่ยนรูปลักษณ์ใหม่ทั้งหมดจะเกิดขึ้นกับนวัตกรรมลำดับขั้นตลอดจนการนำวัสดุชิ้นส่วนใหม่ๆ เช่นในกรณีศึกษาเรื่องนาฬิกาในวิทยุ  และเป็นการพัฒนาสินค้าโดยเปลี่ยนวัสดุชิ้นส่วนใหม่  แต่ระบบการทำงานยังคงเดิม คือ ได้อรรถประโยชน์คงเดิม  เช่น  การพัฒนานาฬิกาในวิทยุ ที่เปลี่ยนส่วนประกอบโดยใช้แหล่งพลังงานใหม่ จากเดิม ไฟฟ้าหรือถ่านไฟฉาย เป็นการหมุนของนาฬิกา แต่ระบบการทำงานหรือโครงสร้างเดิมนั้นไม่เปลี่ยน คือ วิทยุยังคงทำงานระบบเดิม
 (3) นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ(Architectural Innovation
 เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของระบบ ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงในรูปแบบใหม่ๆ ในขณะที่วัสดุชิ้นส่วนและการออกแบบผลิตภัณฑ์อาจจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย  ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักจะกระทำในแนวทางนี้ที่จะช่วยก่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มักจะคุ้นเคยกับคำว่า Minor Change  หรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเพียงบางส่วนหรือเพียงเล็กน้อย  และเป็นการพัฒนาสินค้าโดยส่วนประกอบไม่เปลี่ยน แต่ระบบการทำงานเปลี่ยน เช่น อาจมีการเปลี่ยนการนำเอาส่วนประกอบมาเชื่อมโยงกันใหม่  ยกตัวอย่างเช่น  พัฒนาโทรศัพท์มือถือ IPHONE คือเป็นโทรศัพท์มือถือแบบทัชสกรีน มาเป็น IPAD ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์รูปทรง
 (4) นวัตกรรมปฏิรูป(Radical Innovation)
            จะมีผลกระทบอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด สภาพทางเศรษฐกิจของบริษัทในตลาดนั้น  และรูปแบบการดำรงชีวิตของประชากร
            ผลกระทบของนวัตกรรมประเภทนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาด สร้างตลาดใหม่หรือทำให้สินค้า/บริการเดิมต้องหมดความนิยมไป บางครั้งอาจต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร  หลังจากได้นำสินค้า/บริการออกสู่ตลาดแล้วต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้หนึ่งข้อหรือมากกว่า
             -  ต้องเป็นคุณสมบัติการใช้งานแบบใหม่ทั้งหมด
            -  การปรับปรุงคุณสมบัติการใช้งานที่มีอยู่ ต้องทำให้ดีกว่าเดิม 5 เท่าหรือมากกว่านั้น
            -  สามารถลดต้นทุนได้ 30 % หรือมากกว่า
            -  ต้องเปลี่ยนสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการแข่งขันหรือมีผลกระทบในวงกว้าง เช่น ทีวี โทรศัพท์ กล้องดิจิตอล และเป็นการพัฒนาสินค้าโดยเปลี่ยนแปลงทั้งวัสดุชิ้นส่วนในระบบ รูปลักษณ์รูปทรงใหม่คือ เป็นการปฏิรูปใหม่ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น VDO เปลี่ยนเป็น VCD  กล้องใช้ฟิล์มเปลี่ยนเป็นกล้องดิจิตอล

รูปแบบของนวัตกรรม
(1)  นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ(Product or Service Innovation)
           เกิดคุณสมบัติใหม่หรือพัฒนาคุณสมบัติ คุณลักษณะของสินค้าให้ดีมากขึ้น หรือแตกต่างจากสินค้าเดิม เช่น เพิ่มคุณสมบัติของผ้าให้หายใจได้ หรือกันน้ำ                 กระบวนการผลิตใหม่/พัฒนาขึ้นมาก รวมทั้งการเปลี่ยนเทคนิค เครื่องมืออุปกรณ์ และ/หรือซอร์ฟแวร์ เช่น  ลดต้นทุนในกระบวนการทอผ้า, ตลาดประมูลสินค้าออนไลน์อย่างAmazon.com และ E-bay.com, บริษัท Dell Computer เป็นต้น
                  (2)  นวัตกรรมของกระบวนการ(Process Innovation)  
                           มักจะใช้เพื่อลดต้นทุนหรือตัดกระบวนการที่ไม่สำคัญออกไปหรือเพิ่มคุณภาพของสินค้า/บริการ  เช่น  การใช้นวัตกรรม RFID ในWal-Mart  เพื่อให้บริการคิดราคาสินค้าอย่างสะดวกรวดเร็ว   
                    (3)  นวัตกรรมของการตลาด(Marketing Innovation
                           การออกแบบ, ช่องทางการจัดจำหน่าย, การบรรจุหีบห่อ, การกำหนดราคา, การส่งเสริมการขาย, เช่น  การออกแบบลายผ้าใหม่ โดยไม่เปลี่ยนคุณสมบัติเดิมของผ้า
                    (4)  นวัตกรรมขององค์การ(Organizational Innovation)
                           การปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหาร วิธีคิด วิธีปฏิบัติของการดำเนินงานในองค์การจากรูปแบบเดิมๆไปสู่รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานสูงสุด  ซึ่งเป็นการนำเครื่องมือทางการจัดการที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น TQM(Total Quality Management), Six Sigma, Balance Scorecard, Benchmarking เป็นต้น
จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมกระบวนการ และนวัตกรรมผลิตภัณฑ์
            นวัตกรรม (innovation) เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และสังคมจากความคิดใหม่ นวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือการทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
            นวัตกรรมเป็นตัวแปรที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงองค์การด้านต่างๆ ได้แก่ ความอยู่รอด การเจริญเติบโต การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่  และสมรรถนะหลัก ซึ่งนวัตกรรมไม่ใช่แค่การพัฒนาสินค้าใหม่เท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับการลดต้นทุน การแสวงหาแนวทางการตอบสนองความต้องการของตลาด การยกระดับคุณภาพชีวิต และการสร้างคุณค่าเพิ่ม
            นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product or Service Innovation) จะต้องเกิดคุณสมบัติใหม่หรือพัฒนาคุณสมบัติคุณลักษณะของสินค้าให้ดีมากขึ้น หรือแตกต่างจากสินค้าเดิม เช่น เพิ่มคุณสมบัติของผ้าให้หายใจได้ หรือกันน้ำ เป็นต้น
           นวัตกรรมของกระบวนการ(Process Innovation) มักจะใช้เพื่อลดต้นทุนหรือตัดกระบวนการที่ไม่สำคัญออกไปหรือเพิ่มคุณภาพของสินค้า/บริการ เช่น การใช้นวัตกรรม RFID ใน Wal- Mart เพื่อให้บริการคิดราคาสินค้าอย่างสะดวกรวดเร็ว
                        โดยธรรมชาตินวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และ นวัตกรรมกระบวนการ มีความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นอย่างมาก เมื่ออัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ลดลง อัตราการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมกระบวนการเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีการออกแบบกระบวนการผลิตให้เป็นมาตรฐาน  เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและผลิตครั้งละในปริมาณที่มาก  ซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นลักษณะความสัมพันธ์ผกผันกัน
              จากรูปกราฟดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ช่วงระยะเวลาของตัวแบบพลวัตรทางนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลา คือ ช่วงระยะเวลาไม่แน่นอน (Fluid Phase)  ช่วงระยะเวลาถ่ายโอน(Transitional Phase) และช่วงระยะเวลาเฉพาะเจาะจง(Specific Phase) โดยช่วง Fluid Phase เป็นช่วงระยะเวลาที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนเกิดขึ้น 2 รูปแบบคือ กลุ่มเป้าหมาย และเทคโนโลยีที่จะนำมาเสนอผู้ผลิตกล่าวคือ เทคโนโลยียังไม่ชัดเจน  ผู้ผลิตแย่งชิงความเป็นผู้นำ และส่วนแบ่งการตลาดยังมีน้อย  เมื่อเทียบกับวงจรชีวิตเศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว(Recovery)เป็นช่วงที่มีการผลิตไม่มาก  คู่แข่งขันน้อย  มีนวัตกรรมใหม่ๆมานำเสนอ  ตลาดเป็นแบบเฉพาะกลุ่ม(Niche Market) สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก  จะใช้แรงงานฝีมือในการผลิต และเป็นสินค้าหลัก
ช่วงระยะเวลาถ่ายโอน(Transitional Phase) ผลิตภัณฑ์ได้รับการยอมรับจากตลาด ผู้ประกอบธุรกิจมีอัตราการเจริญเติบโตที่สูงขึ้น  มีเสถียรภาพมากขึ้น  และเกิดแบบผลิตภัณฑ์มาตรฐาน(Dominant Design) ขึ้น  เทียบกับวงจรชีวิตเศรษฐกิจอยู่ในช่วงความรุ่งเรือง(Prosperity) เป็นช่วงที่ความต้องการสินค้ามีมาก  มีผู้แข่งขันรายใหม่เริ่มเข้ามาแข่งขัน  การผลิตเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ  เน้นอัตราการตอบสนองของตลาด  ใช้เครื่องจักรในการผลิตแบบLot Size และช่วงการถดถอย(Recession) เป็นช่วงที่เกิดการแพร่กระจายของนวัตกรรม(Diffusion) ขึ้น  คนเริ่มไม่ซื้อ  แข่งขันกันที่ราคา  และสินค้าไม่เป็นที่ต้องการของตลาดและเป็นการผลิตแบบต่อเนื่อง(Continuous)
                        ส่วนช่วงระยะเวลาเฉพาะเจาะจง(Specific Phase) กระบวนการผลิตให้ความสำคัญกับคำว่าประสิทธิภาพ  สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในตลาด  นวัตกรรมผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกระบวนการเป็นเรื่องเดียวกันเป็นช่วงที่นำสิ่งที่มีอยู่แล้วมาพัฒนาและต่อยอดให้ดีขึ้นโดยเน้นที่Incremental innovation เพื่อเพิ่มความหลากหลายในผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม รวมทั้งเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ  ทำให้สามารถลดต้นทุนได้มากที่สุด  ในช่วงนี้จะแข่งขันกันในด้านราคาเป็นสำคัญ  เทียบกับวงจรชีวิตเศรษฐกิจอยู่ในช่วงตกต่ำ(Depression) เป็นช่วงที่ต้องเร่งสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อให้แข่งขันกับคู่แข่งได้

1 ความคิดเห็น: