วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

เค้าโครงการเขียนวิจัย 3 บท ครับ






หลักการเขียนวิจัย 3 บท
สรุป : หลักการเขียนรายงานวิจัย ของ รปม. ราม นะครับ  (เผื่อมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย)
PA702   โดย ดร. วิโรจน์   ก่อสกุล   ส่งวันที่ 31 มีนาคม 2555 วันสอบ Final
                                                  
1.  ชื่อเรื่องวิจัย.........................(ให้หาชื่อเรื่องให้สัมพันธ์กับคณะที่เรียน....คือ รัฐประศาสนศาสตร์....นะครับ )
           เช่น  การกำหนดนโยบายในการจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก
                   องค์การกับการจัดการความรู้: ศึกษาองค์การประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจ
                   บทบาทภาครัฐและภาคเอกชนในการคุ้มครองผู้บริโภค
                   การพัฒนาบุคลากร: กรณีศึกษา บมจ.ธนาคารกรุงไทย สำนักงานใหญ่
                   ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ของนักศึกษามหาลัยรามคำแหง
                   การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล...........
                   การปฐมนิเทศพนักงานใหม่: กรณีศึกษาเทศบาลตำบล............................

2.  บทที่ 1   บทนำ      (จะมีหัวข้อดังนี้)
           ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
           วัตถุประสงค์ของการวิจัย
           ขอบเขตการวิจัย
           นิยามศัพท์เฉพาะ
           ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

           แค่ 5 หัวข้อนี้ก็พอนะ แต่ถ้าใครขยัน หรือ มีเวลาก็จะทำทั้งหมดในบทเรียนก็ได้   ก็มี
                   สมมุติฐานในการวิจัย (ถ้ามี)
                   ข้อตกลงเบื้องต้น (ถ้ามี)
                   ข้อจำกัดของการวิจัย (ถ้ามี)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  คือ เราตั้งชื่อเรื่อง..เกี่ยวข้องกับอะไร....ก็ให้เขียนความเป็นมา และปัญหาที่เราจะทำว่าใน scope ครอบคลุมชื่อเรื่องวิจัยนะ โดยแบ่งเป็นดังนี้
           1.  ให้กล่าวแนวกว้างๆ ของชื่อเรื่อง.......(จะกี่ย่อหน้าก็ตาม)
           2.  ให้กล่าวถึงเรื่องที่ทำ.....พอสังเขป
           3.  ที่สำคัญ ต้องสรุป เกี่ยวกับเรื่องที่เราทำ ว่าเรามีแนวทางแก้ไขอย่างไร (ประมาณนี้นะ....)

วัตถุประสงค์ของการวิจัย  ....ต้องสัมพันธ์กับชื่อเรื่องที่วิจัยนะ.....มีหลักดังนี้
           1. เพื่อศึกษา.............................
           2. เพื่อเป็นแนวทาง..................
           3. เพื่อนำเสนอแนวทาง............       ฯลฯ

ขอบเขตการวิจัย  มีหลักดังนี้
           1.  ขอบเขตด้านพื้นที่........ เช่น...ศึกษาเฉพาะเทศบาลเมืองลพบุรี...................
           2.  ขอบเขตด้านเนื้อหา..... เช่น...(เราต้องการศึกษาในด้านใด ประมาณนี้นะ)
                   การใช้คอมพิวเตอร์
                   การใช้อินเทอร์เน็ต
                   การบำรุงรักษา
                   สิทธิผู้บริโภค
                   กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภค     ฯลฯ
           3.  ขอบเขตด้านระยะเวลา.....เช่น.....ระยะเวลาในการทำวิจัย ตั้งแต่เดือน.......ถึง..............
 
นิยามศัพท์เฉพาะ   คำศัพท์ ดูจากเนื้อหา หรือ เรื่องที่เรากำลังทำอยู่ ว่ามันมีคำศัพท์อะไรบ้างที่เราเขียนออกมาแล้วจะสื่อให้ผู้อ่าน เขาอ่านวิจัยของเรารู้เรื่องและเข้าใจเหมือนกับเรา (ประมาณนี้)........  

ตัวอย่าง...
หน่วยงานของรัฐ  หมายถึง ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่ไม่หมายความรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นทีมีกฎหมายจัดตั้ง
เงินเดือน หมายถึง เงินที่ได้รับตามกฎหมายที่จ่ายให้แก่ข้าราชการและ หรือ พนักงานทุกประเภทเป็นรายเดือน โดยมีอัตรากำหนดไว้แน่นอน รวมถึงเงินที่จ่ายในลักษณะเงินเดือน และเงินเพิ่มอื่นๆ ที่จ่ายควบกับเงินเดือน
องค์การ  หมายถึง การรวมตัวกันของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
นวัตกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นไปใน่ทางบวกและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

          
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ......ต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์  นะ.......มีหลักดังนี้
           1.  ทำให้ทราบ.............
           2.  เป็นแนวทาง...............
           3.  สามารถนำผล.............

จบบทที่ 1 นะครับ
  

3.  บทที่ 2  แนวคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง      (จะมีหัวข้อดังนี้)
           1.  แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ...................... (ทฤษฎี กว้างๆๆๆๆ)
           2.  แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ...................... (ทฤษฎี เริ่มแคบเข้ามาหาชื่อเรื่อง)
           3.  แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับ...................... (ทฤษฎี สอดคล้องกับชื่อเรื่องเลย)
           4.  ข้อมูลหน่วยงาน หรือ องค์กรที่ศึกษา.............(โดยกล่าวถึง โครงสร้าง ภารกิจ บทบาท หน้าที่)
           5.  งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่าง....
แนวคิด ทฤษฏี เกี่ยวกับทางเลือกสาธารณะ
           ทฤษฏีทางเลือกสาธารณะหรือบาทท่านเรียกว่า การบริหารแบบประชาธิปไตย เป็นการนำเอาความคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมืองมาช่วยแก้ไขปัญหา และเป็นการนำเอาปรัชญาการบริหารแบบประชาธิปไตยมาใช้ เพราะวิกฤติการณ์ในวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (พิทยา บวรวัฒนา, 2529, หน้า 21) ในขณะที่ Mueller (อ้างถึง ใน วรเดช จันทรศร, 2531, หน้า 82)  กล่าวว่า ทางเลือกสาธารณะเป็นการนำเอาหลักวิชาเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการวินิจฉัยสั่งการในภาครัฐ และ Bish (อ้างถึงใน วรเดช จันทรศร, 2531, หน้า 82) อธิบายว่า ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะมุ่งที่จะนำความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการตลาด (market behavior) มาอธิบายถึงพฤติกรรมการตัดสินใจที่เกิดขึ้นภาครัฐ ตลอดจนมุ่งที่จะนำเอากลไกการตลาดมาปรับปรุง เพื่อให้การตัดสินใจในภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
           ทางเลือกสาธารณะ (public choice) ตั้งสมมติฐานพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลไว้ว่า มนุษย์คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นหลัก (self  interest)  มนุษย์มีเหตุผลในการตัดสินใจ (rationality) มีความสามารถที่จะเลือกว่าชอบทางใดมากกว่ากัน ปัจเจกบุคคลต้องการเลือกในทางเลือกที่ตนเองได้รับผลประโยชน์สูงสุด (benefit-maximizing)  ทางเลือกขึ้นอยู่กับข้อมูลข่าวสาร เพื่อลดความไม่แน่นอนให้เหลือน้อยที่สุด (uncertainty minimi8zing)  ซึ่งจะบรรลุผลได้จะต้องมีข้อมูลมาก และมีทางเลือกมากพอ (Ostrom} 1964)
           ทางเลือกสาธารณะจะสามารถแก้ไขปัญหาทางการบริหารหรือเป็นทางออกที่สำคัญได้ เช่น ทางเลือกสาธารณะยอมรับในฐานคติที่ว่า พฤติกรรมของปัจเจกบุคคล (individual behavior)  มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีนิสัยเห็นแก่ตัวและเอาเปรียบ (corruptible)  ทางเลือกสาธารณะตระหนักว่า ปัจเจกบุคคลเหล่านั้นมักจะใช้อำนาจทางการเมือง (political authority) เพื่อแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเอง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นกับบุคคล  ทางแก้คือ ต้องแบ่งซอยอำนาจให้มีหลายศูนย์อำนาจ (different authorities) โครงสร้างรัฐธรรมนูญต้องกระจายอำนาจการตัดสินใจให้ชุมชน (allocates decision making) กำหนดขอบเขตแห่งอำนาจของหน่วยงานภาครัฐในระดับต่างๆ ให้มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ต้องตัดสินใจให้เป็นไปในรูปของหลักเหตุและผล สามารถสนองตอบต่อความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด ทางเลือกสาธารณะตระหนักว่า การจัดหาสินค้าและบริการสาธารณะ ย่อมขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกลุ่มหลากหลายตลอดจนความเป็นไปได้ทางการเมืองในแต่ละเรื่อง (political feasibility) ทางเลือกสาธารณะยอมรับในความแตกต่างของสินค้าและบริการสาธารณะแต่ละประเภท ความแตกต่างเหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยวิธีการบริหารที่แตกต่างกัน โดยต้องตระหนักว่าระบบบริหารขนาดใหญ่ที่ใช้การจัดสายการบังคับบัญชาลดหลั่นกันลงไป การใช้ข้าราชการผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบต่อศูนย์รวมอำนาจเพียงแห่งเดียว จะไม่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่สามารถจะตอบสนองความต้องการที่หลากลายของประชาชนและสภาพแวดล้อมได้อย่างเต็มที่ และเห็นว่าระบบการบริหารตามสายการบังคับบัญชา ทำให้การบริการของรัฐ เป็นไปอย่างไม่ประหยัด ล่าช้า และไม่อาจใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ และเชื่อว่าการจัดองค์กรแบบกระจายอำนาจและมีหลายศูนย์ หลายระดับคาบเกี่ยวกัน (overlapping jurisdictions)  หรือเปิดให้มีการแข่งขันอย่างหลากหลายภายในเขตปกครองเดียวกัน จะเป็นเงื่อนไขให้ระบบนั้น สามารถสนองตอบต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Ostrom, 1973, pp. 111-112)
           ในปี ค.ศ. 1970 มีการศึกษาระบบการบริหารของประเทศที่มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม คือ ออสเตรเลีย เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ และสวีเดน พบว่า ประเทศเหล่านั้น มีนโยบายให้ภาครัฐขยายตัวอย่างช้าๆ โดยการจำกัดวงเงินงบประมาณให้การบริหารภาครัฐขับเคลื่อนโดยกลไกการตลาด เปิดโอกาสให้มีการแข่งขัน ให้มีการจ้างเหมา ให้มีการบริการภาครัฐจากหลายๆ ทาง (many public services) โดยลดกฎ ระเบียบ ให้มีสิทธิ เสรีภาพ และให้มีความเท่าเทียมกัน (Schwartz, 1994) ส่วน Osborne and Gaebler (1992, pp. 49, 76, 166-167, 252, 280)  กล่าวว่า การปรับปรุงระบบราชการของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ปรับเปลี่ยนให้ระบบราชการเป็นระบบที่ชุมชนเป็นเจ้าของ ให้ประชาชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรทางศาสนา องค์กรธุรกิจ และองค์กรชุมชนต่างๆ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย ให้ระบบราชการมีลักษณะของการแข่งขันในการให้บริการสาธารณะกระจายออกไปให้ทั่วทุกพื้นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อป้องกันการผูกขาด (competitive government) ต้องการให้ภาครัฐทำงานเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ให้ถือเสมือนว่าประชาชนเป็นลูกค้ามากกว่าทำงานเพื่อสนองความต้องการของตัวเอง (customer driven government) ให้มีการกระจายอำนาจในระบบราชการ โดยเน้นให้ข้าราชการระดับปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และทำงานเป็นทีม (decentralized government) เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้รวดเร็ว ทันสถานการณ์ (circumstances & customers’need)  ไปบริการใกล้บ้านหรือใกล้ที่เกิดเหตุ (closest to problem) และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงหลักการบริหาร ต้องการให้ระบบราชการเป็นระบบที่ปรับเปลี่ยนไปตามกลไกของตลาด ให้กลไกตลาดแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
            ในขณะที่ Peters (1996, pp. 22, 49, 91) เห็นว่า การบริหารภาครับแนวใหม่ต้องเน้นการทำลายการผูกขาดโดยรัฐ เพื่อให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมและเข้ามามีบทบาทแทนที่รัฐ การบริหารภาครัฐจึงถูกกลไกการตลาดเข้ามาแทนที่ 9market model) ความรับผิดชอบต่อประโยชน์สาธารณะ จะสะท้อนโดยกลไกการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ และสามารถจัดสรรทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริการ เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม 9participatory state) ภาครัฐต้องปรับเปลี่ยนระบบจากการกำกับดูแลและการควบคุมมาเป็นการลดกฎ ระเบียบภาครัฐ (deregulated government) และการกระจายอำนาจ ส่งเสริมการดำเนินงานโดยเสรีส่วน Robbins and Coulter (1999, pp. 4-5)  มีความเห็นว่า การบริหารภาครัฐควรมีความยืดหยุ่นมีการทำงานเป็นทีม เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ โดยมีเครือข่ายในการทำงานและสามารถทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา สอดคล้องกับความเห็นของ Raynor and Bower (2001, p. 93) ที่ว่า ภาครัฐต้องมีความคล่องตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนได้ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของกฎ ระเบียบ กฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกาภิวัตน์



4.  บทที่ 3   วิธีดำเนินการวิจัย


ถ้าใช้
แบบสัมภาษณ
         แบบสอบถาม
วิธีการวิจัย
1. การวิจัยเอกสาร
1. การวิจัยเอกสาร

2. การวิจัยสนาม
2. การวิจัยแบบสำรวจ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง


ประชากร
คือ องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจ และ องค์กรภาคประชาสังคม ที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้ม ครองผู้บริโภค รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์

หรือ
ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้างาน หรือ หัวหน้าฝ่าย และข้าราชการระดับปฏิบัติงานของสำนักงานเขต....จำนวนทั้งสิ้น 135 คน

นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ มนุษยศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ปีที่ 1-4 และสูงกว่า ปีการศึกษา 2549 จำนวน 372,553 คน (ส่วนทะเบียนและสถิติศูนย์บริการทางวิชาการและสารสนเทศ, 2549)

กลุ่มตัวอย่าง
แบ่งออกเป็น
1. การสุ่มตัวอย่างที่คำนึงถึงความน่าจะเป็น
     - แบบง่าย
     - แบบมีระบบ
     - แบบตามระดับชั้น/แบ่งชั้นภูมิ
     - แบบกลุ่ม
2. การสุ่มตัวอย่างที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น
     - แบบบังเอิญ
     - แบบเจาะจง (เชิงคุณภาพ)
     - แบบโควตา
     - แบบ Snowball

เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive)  และ/หรือ  สุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง (Snowball Sampling) แบ่งเป็น
     องค์กรภาครัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ สนง. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค   สนง. อาหาร และยา    กรมการค้าภายใน  รวม 3 องค์กร  ฯลฯ   และ/หรือ
     ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายแข่งขันทางการค้าและคุ้มครองผู้บริโภค......ฯลฯ

หรือ
การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive) จากข้าราชการสังกัดกองการเจ้าหน้าที่ กรม...จำนวน 8 คน ฯลฯ

แบ่งเป็นเพศชาย และ หญิง อย่างละเท่ากัน ซึ่งถือว่าเพียงพอที่จะเป็นตัวแทนของประชากรได้ โดยใช้ตารางประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่าง ของ ยามาเน่ (Yamane อ้างถึงใน.....) ที่ค่าความเชื่อมั่น 99% ความคลาดเคลื่อน 4% ได้กลุ่มตัวอย่างต่ำกว่า 1.460 คน กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ได้มาจากกลุ่มประชากรแบบสัดส่วนหลายขั้นตอน รวม 1,410 คน ดังนี้
     1. กำหนดขนาดตัวอย่างตามสัดส่วนของชั้นปีที่ศึกษา ของแต่ละคณะ
     2. แบ่งจำนวนเพศชายและหญิง ใกล้เคียงกัน
     3. สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


ก.  การสัมภาษณ์
1. แบบมีโครงสร้าง หรือ แบบเป็นทางการ คือ จะเป็นการสัมภาษณ์ทีมีคำถาม และข้อกำหนดแน่นอนตายตัว จะสัมภาษณ์ผู้ใดก็ใช้คำถามแบบเดียวกัน
2. แบบไม่มีโครงสร้าง
   - แบบไม่เป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์แบบเปิดกว้าง ไม่จำกัดคำตอบ มีความยืดหยุ่น
  - แบบมีจุดความสนใจเฉพาะ หรือ สัมภาษณ์แบบเจาะลึก
  - สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือโดยกำหนดตัวผู้ตอบเป็นการเฉพาะเจาะจงเพราะผู้ตอบมีข้อมูลที่ดีอยู่แล้ว

ข. การสอบถาม
  - แบบสอบถาม ปลายเปิด คือ เป็นคำถามในลักษณะที่ถามกว้างๆ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ตอบอย่างเสรี
  - แบบสอบถาม ปลายปิด คือ เป็นคำถามที่มีจะมุ่งหมายแน่นอน ผู้ตอบสามารถเลือกตอบจากที่กำหนดให้ไว้เท่านั้น
ค. การสังเกต
  - แบบมีส่วนร่วม คือผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษา
  - แบบไม่มีส่วนร่วม คือผู้วิจัยสังเกตอยู่วงนอก เช่น การดูแลรักษาผู้ป่วย การสังเกตการเรียนการสอนในห้องเรียน สามารถเก็บข้อมูลในเวลาที่สั้น
*- ใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งผู้สัมภาษณ์มีจุสนใจอยู่แล้ว ควบคู่ไปกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม 
 - ใช้แบบสอบถามแบบปลายปิด

หรือ
เป็นการสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง ลักษณะของการสัมภาษณ์ที่มีคำถาม และ ข้อกำหนดแน่นอนตายตัว จะสัมภาษณ์ผู้ใดก็ใช้คำถามแบบเดียวกัน

หรือ
เป็นการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง หรือ การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ ลักษณะของการสัมภาษณ์เป็นการสัมภาษณ์ที่มีคำถามและข้อกำหนดแน่นอนตายตัว จะสัมภาษณ์ผู้ใดก็ใช้แบบเดียวกัน เป็นคำถามปลายเปิด
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน 1 ชุด แบ่งออกเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ลักษณะพื้นฐานของนักศึกษา คือ เพศ ระดับ ชั้นปี คณะที่ศึกษา ลักษณะการอยู่อาศัย ภูมิลำเนา รายได้จากบิดามารดา หรือผู้ปกครอง และจากการทำงานพิเศษ และแหล่งความรู้เรื่องอาหาร
ตอนที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก
ตอนที่ 3 ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เป็นแบบมาตราลิเคิร์ท 5 ระดับ คือ
          เห็นด้วยอย่างยิ่ง
          เห็นด้วย
          ไม่แน่ใจ
          ไม่เห็นด้วย
          ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง


      
การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. การวิจัยเอกสาร รวบรวมจากตำรา บทความทางวิชาการ วารสาร สิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
2. การวิจัยสนาม ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในกองเภสัชกรรมฯ โดยการแจก แบบสอบถาม ด้วยตนเองและรับแบบสอบถาม คืนจำนวน 90 ชุด ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวม ตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์ข้อมูล ประมวลผล



การวิเคราะห์ข้อมูล
คือ การจัดระเบียบข้อมูล เพื่อสรุปผลการศึกษา ผู้วิจัยต้องอธิบายโดยสังเขปว่าใช้เครื่องอะไร ใช้สถิติอะไร ในการวิเคราะห์ข้อมูล
 


1. วิเคราะห์จากเนื้อหาที่สัมภาษณ์










1. วิเคราะห์หาค่าความถี่ และค่าร้อยละ
2. หาค่าเฉลี่ย
3. หาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน













 
5.  ภาคผนวก
           -  อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์
           -  อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ หรือ วารสาร
           -  อ้างอิงข้อมูลจากงานวิจัย หรือ วิทยานิพนธ์
           -  อ้างอิงข้อมูลจากข้อมูลทุติยภูมิ
           -  อ้างอิงเอกสารที่เป็นการติดต่อส่วนบุคคล หรือ การสัมภาษณ์

6.  บรรณานุกรม